How To Wiki ิวิธีการใช้ Wiki

wiki เป็นการ ใช้พื้นฐานของ ErfurtWiki,ซึ่งเป็นการประยุกต์ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ของ WikiWikiWeb มาใช้ ช่วยในการร่วมกันแก้ไขและสร้างเว็บกันได้ง่ายขึ้น

  • วิธีการสร้างหน้าเว็บ CreatePages
  • คลิ๊กที่ หรือเลือกที่ "แก้ไขหน้านี้" ("Edit this page") จากเมนู drop down เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาของหน้าเพจ
  • คุณสามารถจัดฟอร์แมทหน้าได้ด้วย Wiki Markup, หรือด้วยโค้ด HTML (หาก wiki ให้ทางเลือกในการแก้ไข)
  • ใช้คำสั่ง ค้นหาหน้า (SearchPages)หรือไปที่รายการหน้าใหม่ล่าสุด ( NewestPages)
  • นอกจากนี้ ยังมีรายการหน้าที่เข้าไปใช้บ่อย (MostVisitedPages),หน้าที่ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ่อย (MostOftenChangedPages) และหน้าที่เพิ่งทำการปรับปรุง (UpdatedPages) อีกด้วย

การสร้างหน้าใหม่ ( Create Pages):
คุณจะสร้างหน้าใหม่ด้วยการตั้งชื่อหน้าทีี่กำลังเปิดใช้อยู่ ณ ขณะนั้น หน้าของ wiki จะถูกตั้งชื่อโดยใช้ CamelCas หรือ ด้วยการใส่ไว้ในวงเล็บแบบ brackets ( [] ).

ตัวอย่าง :

  • หน้า Wiki ของฉัน (Camel Case)
  • [หน้า Wiki ของฉัน] (ใส่ไว้ใน brackets)

ข้อความที่ตั้งชื่อแบบ wiki จะมีสัญลักษณ์ '?'ตามหลังชื่อ. ให้ึคลิกที่สัญลักษณ์ '?'แล้วคุณก็จะเข้าสู่โหมดแก้ไขของหน้านั้น จากนั้นให้พิมพ์ข้อความของคุณลงไปในหน้านั้นแล้วจัดเก็บ (save) คุณก็จะได้หน้า wiki ใหม่

Wiki Markup:
ในแต่ละหน้าของ Wiki สามารถทำการแก้ไขได้โดยง่ายด้วยการใช้ wiki markup.

การจัดย่อหน้า (Paragraphs)

  • แยกย่อหน้าภายในเนื้อความของหน้านั้น ด้วยการใช้บรรทัดว่าง (empty lines)
  • ใช้เึครื่องหมายเปอร์เซ็น 3 ตัว ( %%%) สำหรับการแยกบรรทัดนั้น ( a line break)
  • ถ้าคุณเคาะ space bar หรือกดแท็บ (tab) บรรทัดนั้นก็จะทำการย่อหน้าตามที่คุณกด

การทำหัวข้อ (Headlines)

  • ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์หนึ่งตัว (!) ในตอนขึ้นต้นบรรทัดนั้นเพื่อกำหนดให้เป็นหัวข้อเล็ก at the beginning of a line to create a small headline
  • ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์สองตัว (!!) สำหรับหัวข้อขนาดกลาง
  • ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์สามตัว (!!!) สำหรับหัวข้อขนาดใหญ่

รูปแบบของข้อความ (text style)

  • หากคุณต้องการเน้นย้ำเนื้อความส่วนใด ให้คุณใส่เครื่องหมายคำพูด ( ''..........'') แล้วเนื้อความนั้นจากถูกเน้นย้ำด้วยการทำเป็นตัวเอียง
  • หากต้องการให้เนื้อความนั้นเป็นตัวหนา ให้ใช้ขีดล่าง (underscores __ )ครอบข้อความนั้น (หรือใส่เครื่องหมายดอกจันคลุมไว้*....*)
  • หากต้องการให้เนื้อความนั้นมีขนาดใหญ่ให้ใส่เครื่องหมาย ##
  • หากต้องการให้เนื้อความนั้นมีขนาดเล็กลงให้ใส่เครื่องหมาย "ตต"
  • หากต้องการให้มีรูปแบบตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ดีด (a typewrite like font)ให้พิมพ์ข้อความนั้นไว้ระหว่างเครื่องหมายเท่ากับสองอัน

การทำรายการ (Lists)

  • เริ่มต้นบรรทัดนั้นด้วยเครื่องหมายดอกจัน * เพื่อเริ่มต้นรายการ ( list)
  • ใช้เครื่องหมาย # หากต้องการให้เป็นรายการที่นำหน้าด้วยตัวเลข
    1. คุณสามารถทำรายการย่อยได้ด้วย
    2. แต่ละหัวข้อในรายการย่อยควรเริ่มต้นด้วยการใช้ * หรือ # อย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมือนกันทั้งรายการ

การทำไฮเปอร์ลิงค์ (HyperLinks)

  • แค่เพียงใส่ CamelCase WikiWord ในเนื้อความที่คุณพิมพ์ คุณก็จะได้ HyperLink
  • หรือ ใส่ข้อความในวงเล็กสี่เหลี่ยม (square brackets) เพื่อสร้างไฮเปอร์ลิงค์
  • ใส่ชื่อเวบไซด์ใดๆ ที่ยังใช้การได้บนอินเตอร์เน็ต (ขึ้นต้นด้วย http://) เช่น http://www.example.com/ภายในเนื้อความ แล้วเนื้อความนั้นก็จะถูกปรับเป็ไฮเปอร์ลิงค์ที่สามารถคลิกได้โดยอัตโนมัติ
  • ใส่ชื่อเวบไซด์ หรือ WikiLink ภายในวงเล็บสี่เหลี่ยม [Moodle] แล้วตั้งชื่อเวบไซด์นั้นให้เหมาะสมด้วยการใช้เครื่องหมายคำพูดคลุมไว้ หรือ | แยกตัวอักษร
    • [ชื่อเรื่อง | http://example.com]
    • [WikiWord "ชื่อเรื่อง"] or ["ชื่อเีิีรื่องสำหรับ" WikiLink]
  • หากคุณไม่ต้องการ WikiWord หรือใส่ที่อยู่ของเวบไซด์ หรือแม้กระทั่งข้อความในวงเล็บสี่เหลี่ยมกลายเป็นไฮเปอร์ลิงค์ไปยังเวบไซด์นั้นๆ ให้คุณใส่้้้เครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือเครื่องหมาย ~ไว้ด้านหน้า เช่น
    • !NoHyperLink, ~NoHyperLink
    • ![no hyperlink], !!http://nolink.org/

การทำตารางด้วย |

ให้คุณใส่ข้อความ ไว้ระหว่้างเครื่องหมายขีดกลาง (dash)
เพื่อสร้าง โครงสร้างของตาราง
โดยปกติ เบราเซอร์ จะทิ้งเซลล์ที่ว่าง เอาไว้

กรุณาเว้นบรรทัดว่างเปล่าตรงด้านบนและัด้านล่างของตาราง เพื่อให้ตารางนั้น ดูแยกออกจากเนื้อความส่วนข้างเคียงอย่างชัีดเจน

การใส่รูป (Pictures)

  • สำหรับการแทรกรูปนั้น ให้ใส่ชื่อของที่อยู่รูปนั้น ในวงเล็บสี่เหลี่ยม ดังนี้ [http://www.example.com/pics/image.png]
  • ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง นั่นคือ คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นอัพโหลดภาพได้เลย
ยังคงมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่สามารถทำได้ด้วย Wiki mark-up. คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ืีที่ Erfurt Wiki Homepage.

Camel Case:

CamelCase สามารถอธิบายได้ว่า WikiWords มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร คำหลายคำที่พิมพ์ติดต่อกันโดยไม่มีการแยกด้วยการเคาะสามารถแยกคำได้ด้วยการใช้ตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์ใหญ่(uppercase) และตัวพิมพ์เล็ก(lowercase) เปรียบเหมือนกับเป็นหนอกบนหลังอูฐ (the humps of camels.) แนวทางการลิงค์นี้ ยังเรียกอีกอย่างว่า BumpyText. ในขณะที่นักเขียนภาษาคอมพิวเตอร์แท้ๆ จะรังเกียจ Wikis อันเนื่องมาจากแนวการตั้งชื่อ แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติและเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงคอมพิวเตอร์และนักเขียนโปรแกรมในโลกปัจจุบันเลยทีเดียว

หน้าแรกของไฟล์ช่วยเหลือทั้งหมด
Show this help in language: English

Theme by NewSchool Learning